เมนู

ก่อน มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น. พรรณนาอุปนิสสยปัจจัยในข้อว่า การรับ
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัยเป็นประโยชน์
นี้เพียงเท่านี้.
ก็จักขุเป็นอรรถชื่อว่า ทัสสนัตถะ (มีการเห็นเป็นอรรถ) โสต
เป็นอรรถชื่อว่า สวนัตถะ (มีการฟังเป็นอรรถ) ฆานะเป็นอรรถชื่อว่า
ฆานัตถะ (มีการสูดกลิ่นเป็นอรรถ) ชิวหาเป็นอรรถ ชื่อว่า สายนัตถะ
(มีการลิ้มรสเป็นอรรถ) กายเป็นอรรถชื่อว่า ผุสนัตถะ (มีการถูกกระทบ
เป็นอรรถ) มโนเป็นอรรถชื่อว่า วิชานนัตถะ (มีการรู้เป็นอรรถ).
พึงทราบวินิจฉัยคำว่า มีการเห็นเป็นอรรถเป็นต้นต่อไป
การเห็นเป็นอรรถของจักขุวิญญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จักขุวิญญาณ
นั้นจึงชื่อว่า ทัสสันตถะ จริงอยู่ การเห็นนั้นอันจักขุพึงให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ทัสสันตถะ (มีการเห็นเป็นอรรถ) แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น
ก็นัยนี้แหละ.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันจบวิบากจิต 16 ดวง ในวาทะของ
พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกพร้อมกับวิบากจิต 12 ดวง และอเหตุกจิต
8 ดวง เพียงเท่านี้.

วิบากจิต 2 ดวงในวาทะพระมหาทัตตเถระ


บัดนี้ เป็นกถามรรควิบากจิต 12 ดวง ในวาทะของพระมหาทัตตเถระ
ผู้อยู่ในโมรวาปี. ในวาทะนั้น ปัญหาในเมืองสาเกต การถือส่วนข้างมากและ
การแสดงเหตุเป็นไปตามปกติทั้งนั้น แต่พระเถระนี้เห็นข้อบกพร่องในจิตที่
เป็นอสังขาริกและสังขาริก จึงกล่าวว่า กรรมที่เป็นอสังขาริกย่อมให้วิบากที่
เป็นอสังขาริกไม่ให้วิบากที่เป็นสสังขาริก แม้กรรมที่เป็นสสังขาริกก็ย่อมให้
วิบากเป็นสสังขาริกเท่านั้นไม่ให้วิบากเป็นอสังขาริก และพระเถระนี้ไม่กล่าว

จิตนิยามโดยชวนะ แต่ย่อมกล่าวนิยามแห่งเวทนาโดยอารมณ์ เพราะเหตุนั้น
ในวาทะของท่านนี้นั่นแหละ แม้วิบากจิต 12 ดวงก็ดี อเหตุกจิต 8 ดวงก็ดี
ชื่อว่า แนวทางแห่งวิบากจิต 12 ดวง.
ในแนวทางวิบากจิตนั้น มีนัยต่อไปนี้
ก็เมื่ออสังขาริกจิตเป็นติเหตุกะสหรคตด้วยโสมนัสทำกรรมแล้ว บุคคล
ผู้ถือปฏิสนธิด้วยวิบากจิตเช่นนั้นนั่นแหละ ถึงการเจริญวัยแล้ว เมื่ออิฏฐารมณ์
มาสู่คลองจักขุทวารแล้ว โมฆวาระ 3 ย่อมมีโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลัง
เหมือนกัน ในกถาว่าด้วยจิตเหล่านั้น จิต 13 ดวง เหล่านี้ คือ กุศลวิบาก
4 ดวง อกุศลวิบากที่สหรคตด้วยโสมนัส 4 ดวง และกิริยาจิต 5 ดวง
ดวงใดดวงหนึ่ง เมื่อชวนจิตเสพอารมณ์สุดแล้ว ก็ตั้งอยู่เป็นตทารมณ์ ติเหตุก-
จิตที่เป็นอสังขาริกซึ่งสหรคตด้วยโสมนัสก็ดี อเหตุกจิตที่เป็นทุเหตุกเป็นอสัง-
ขาริกก็ดี ก็ย่อมตั้งอยู่เป็นตทารมณ์นั่นแหละ ด้วยอาการอย่างนี้ ในจักขุทวาร
ของบุคคลนั้นจึงเป็นวิบากจิต 4 ดวง เข้าถึงการนับเป็น 5 ดวง คือ วิบากจิต
3 ดวง มีจักขุวิญญาณเป็นต้น และตทารัมมณจิต 2 ดวง
อนึ่ง ครั้นเปลี่ยนเวทนาไปโดยอารมณ์แล้ว อุเบกขาสหคตจิต 12 ดวง
คือ กุศลวิบาก 4 ดวง อกุศลวิบาก 4 ดวง กิริยาจิต 4 ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง
เมื่อชวนะเสพอารมณ์เสร็จแล้ว จิตที่เป็นติเหตุกอสังขาริกสหรคตด้วยอุเบกขา
ก็ดี วิบากจิต อสังขาริก ทุเหตุกะก็ดี ก็เกิดขึ้นเป็นตทารัมมณะ ด้วยประการ
ฉะนี้ ในจักขุทวารของบุคคลนั้นก็เข้าถึงการนับได้ 3 ดวงเหล่านี้ คือ สันติ-
รณจิตสหรคตด้วยอุเบกขา และตทารัมมณจิต 2 ดวงเหล่านี้ จิต 3 ดวง
เหล่านั้น กับจิต 5 ดวงก่อนรวมเป็น 8 ดวง แม้ในโสตทวารเป็นต้นก็ได้
ทวารละ 8 ดวง เมื่อกรรมอันเจตนาดวงหนึ่งทำแล้ว จิต 40 ดวงถ้วนย่อม

เกิดขึ้น. แต่เมื่อถือเอาจิตที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้จิต 12 ดวง คือ ในจักขุทวาร 8
ดวง ในโสตวิญญาณเป็นต้นอีก 4 ดวง. ในข้อนั้นพึงทราบมูลภวังค์ ภวังค์ที่
เป็นไปและกถาอันเปรียบด้วยมะม่วงและนิยามโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เมื่อ
กรรมอันกุศลจิตที่เป็นสสังขาริก ติเหตุกะสหรคตด้วยโสมนัสกระทำแล้วก็ดี
เมื่อกรรมอันอสังขาริกและสสังขาริกะเป็นติเหตุกะสหรคตด้วยอุเบกขาทำแล้วก็ดี
ก็นัยนี้แหละ.
ความอุปมาเรื่องเครื่องหีบอ้อยท่านกล่าวว่า ไม่ได้ใน 2 ข้อนี้ เมื่อ
กรรมอันกุศลจิตที่เป็นสสังขาริกทุเหตุกสหรคตด้วยโสมนัสทำแล้วก็ดี เมื่อกรรม
อันอสังขาริกและสสังขาริก ที่เป็นทุเหตุกะสหรคตด้วยอุเบกขาทำแล้วก็ดี ก็มี
นัยนี้เหมือนกัน ด้วยคำมีประมาณเพียงเท่านี้ ท่านกล่าววาระว่า ทุเหตุกปฏิสนธิ
ย่อมมีด้วยกรรมอันเป็นทุเหตุกะ ดังนี้.
ส่วนวาระ อเหตุกปฏิสนธิ ย่อมมี ดังนี้ พึงทราบอย่างนี้ เมื่อ
กรรมอันกุศลญาณวิปปยุต 4 ดวงกระทำแล้ว บัณฑิตไม่ควรกล่าวว่า เป็น
ปฏิสนธิเช่นกับกรรมที่อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากที่สหรคตด้วย
อุเบกขาถือปฏิสนธิ ตั้งแต่ต้นไปพึงทราบว่า ความเกิดขึ้นแห่งจิตที่มีอิฏฐารมณ์
บ้าง อิฏฐมัชฌัตตารมณ์บ้าง ตามที่กล่าวโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ
จริงอยู่ ในวาทะของพระเถระนี้ ชวนะประมวลมาเป็นพวกเดียวกันย่อมเสพ
อารมณ์ ถ้อยคำที่เหลือทั้งหมดมีอาทิว่า ชวนะนี้จิตตุปบาทอะไร ย่อมกำหนด
ไว้โดยความเป็นกุศล หรืออกุศล โดยนัยที่กล่าวไว้ในที่นั้น ๆ นั่นแหละ
แนวทางกถาว่าด้วยวิบาก 12 ดวง กับวิบากจิต 10 ดวง อเหตุกะ 8 ดวง
ในวาทะของพระมหาทัตตเถระผู้อยู่ในโมรวาปี จบแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

วิบากจิต 10 ดวงในวาทะพระมหาธรรมรักขิตเถระ


บัดนี้ เป็นเรื่องว่าด้วยวิบากจิต 10 ดวง ในวาทะของพระธรรมรัก-
ขิตเถระต่อไป. ในวาทะนั้น ปัญหาในเมืองสาเกต และการแสดงส่วนข้างมาก
เป็นไปตามปกตินั่นแหละ ส่วนการแสดงนี้แตกต่างกันคือ
กรรมที่เป็นติเหตุกะ ย่อมให้วิบากเป็นติเหตุกะจิตบ้าง ให้วิบากเป็น
ทุเหตุกจิตบ้าง ให้วิบากเป็นอเหตุกจิตบ้าง. กรรมที่เป็นทุเหตุกะ ย่อมไม่ให้
วิบากเป็นติเหตุกจิตเท่านั้น แต่ให้วิบากจิตนอกนี้. ด้วยกรรมที่เป็นติเหตุกะ
ปฏิสนธิย่อมเป็นติเหตุกจิตเท่านั้น ไม่เป็นทุเหตุกะหรืออเหตุกจิต. ด้วยกรรม
ที่เป็นทุเหตุกะ
ปฏิสนธิย่อมเป็นทุเหตุกะและอเหตุกจิต ไม่เป็นติเหตุกจิต.
กรรมที่เป็นอสังขาริก ย่อมให้วิบากที่เป็นอสังขาริกเท่านั้น ไม่ให้วิบากเป็น
สสังขาริก. แม้กรรมที่เป็นสสังขาริก ก็ให้วิบากที่เป็นสสังขาริกเท่านั้น ไม่ให้
วิบากเป็นอสังขาริก. เวทนาพึงเปลี่ยนไปด้วยอารมณ์ ชวนจิตก็ย่อมเสพอารมณ์
แล่นไปในกลุ่มเดียวกันนั่นแหละ บัณฑิตพึงกล่าวอธิบายจิตทั้งหลายตั้งแต่ต้น
ต่อไป.
ในข้อนั้น พึงทราบกถาดังต่อไปนี้
บุคคลหนึ่ง ทำกรรมด้วยกุศลจิตดวงที่หนึ่ง เขาย่อมถือปฏิสนธิด้วย
วิบากจิตดวงที่หนึ่งเท่านั้น. ปฏิสนธิจิตนี้เป็นเช่นกับกรรมที่กระทำ. เมื่อบุคคล
นั้นเจริญวัยแล้ว เมื่ออิฏฐารมณ์มาสู่คลองในจักขุทวาร โมฆวาระ 3 ย่อมมี
โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ลำดับนั้น เมื่อเวลาสิ้นสุดลงแห่งชวนจิตที่สหรคต
ด้วยโสมนัส 13 ตามที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ ดวงใดดวงหนึ่งของบุคคลนั้น
เสพแล้ว วิบากจิตดวงที่หนึ่งเท่านั้นย่อมเป็นตทารมณ์. วิบากจิตนั้นได้ชื่อ 2
อย่าง คือ มูลภวังค์ และตทารัมมณะ ด้วยอาการอย่างนี้ จิตทั้งหลายของเขา